การสอบเทียบ (Calibration) กับ การปรับค่า (Adjustment)

การสอบเทียบ (Calibration) กับ การปรับค่า (Adjustment)

การสอบเทียบคืออะไร และ ทำไมเราต้องสอบเทียบพร้อมปรับตั้งค่า ของเครื่องมือวัด

การสอบเทียบ(Calibration) คืออะไร 

การสอบเทียบ (Calibration) คือ การปฏิบัติการเปรียบเทียบผลการวัค ของเครื่องมือวัคที่ไม่รู้ค่าความถูกต้องกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์มาตรฐาน ที่รู้ค่าความถูกต้องเพื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างกัน และ รายงานผล รวมทั้งปรับแต่งเครื่องมือวัด ในกรณี ที่ผลการตรวจวัดผิดไปจากเกณฑ์ที่กำหนด มีการควบคุมสภาวะแวคล้อมให้เหมาะสมกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดแต่ละรายการกระทำโดยเจ้าหน้าที่ภายในหรือภายนอกของห้องปฏิบัติการ ที่มีความรู้ ประสบการณ์ และผ่านการอบรมที่เกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดแต่ละรายการ

ในปัจจุบันนี้ การสอบเทียบ (Calibration) คงเป็นที่แพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมและวงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือวัด ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานราชการ สถานศึกษาและหน่วยงานเอกชนต่างๆ

และยังมีห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องมือวัดเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นของหน่วยงานราชการและเอกชน เพื่อรับบริการสอบเทียบเครื่องมือวัดให้กับลูกค้า หรือโรงงานอุตสาหกรรม ที่ไม่ได้มีห้องปฏิบัติการสอบเทียบภายในโรงงาน แต่ ในหลักการสอบเทียบนั้นไม่ได้มีแค่เฉพาะการหาค่าความผิดพลาดของเครื่องมือวัด เท่านั้น จะต้องรวมไปถึงการปรับตั้ง (Adjustment) หรือปรับค่าแก้ (Correction) ให้กับเครื่องมือวัดด้วย การสอบเทียบถึงจะสมบูรณ์ ซึ่งในห้องปฏิบัติการสอบเทียบบางห้องปฏิบัติการสอบเทียบได้มีการปรับตั้งให้กับลูกค้า แต่ก็ยังมีห้องปฏิบัติการสอบเทียบหลายห้องปฏิบัติการที่ยังไม่สามารถปรับตั้งเครื่องมือให้กับลูกค้าหรือปรับตั้งไม่เป็นก็อาจเป็นได้ มุ่งเน้นแต่จะหาคำความผิดพลาคของเครื่องมือวัคให้ลูกค้าเป็นคนตัดสินใจเองว่าจะยังใช้เครื่องมือนี้อีกหรือไม่ หรือจะนำค่าแก้ ( Correction) นั้นไปใช้

Calibration & Adjustment

การสอบเทียบเครื่องมือวัดอย่างเดียว โดยไม่มีการปรับตั้ง (Adjustment) หรือ ปรับค่าแก้ (Correction) ให้กับเครื่องมือวัดนั้นมันอาจจะส่งผลให้เครื่องมือวัดที่ใช้งานอยู่ จะมีค่าความผิดพลาดมากกว่าค่าความผิดพลาคที่ยอมรับได้ (Tolerance) เมื่อนำเครื่องมือวัดนั้นไปวัดงานโดยไม่ได้คำนึงถึงค่าความผิดพลาดที่ได้จากการสอบเทียบ

 

รวมไปถึงทำให้ค่าความแน่นยำ (Accuracy) ของเครื่องมือวัดนั้นไม่อยู่ในขีคจำกัดของความแน่นยำ (Accuracy Limit) และถ้าไม่มีการปรับตั้งหรือปรับค่าแก้ให้กับเครื่องมือวัดหลายๆปีอาจส่งผลให้เครื่องมือวัดไม่สามารถปรับตั้งหรือปรับค่าแก้ให้กับเครื่องมือวัดนั้นได้เลย

 

การปรับตั้งหรือการปรับค่าแก้ให้กับเครื่องมือวัดอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เครื่องมือวัดมีค่าที่แม่นยำที่ดีขึ้น และยังทำให้เครื่องมือวัดอยู่ในขีดจำกัดของความแม่นยำ (Accuracy Limit)

อายุการใช้งานของเครื่องมือวัดจะขึ้นอยู่กับเวลาการใช้งานและวิธีการ ใช้งาน แต่ถ้ามีการปรับตั้งหรือการปรับค่าแก้ให้กับเครื่องมือวัดก็จะทไให้อายุการใช้งานของเครื่องมือวัดยาวนานยิ่งขึ้น จนกว่าจะถึงเวลาที่จะต้องซ่อมหรือบำรุงรักษา (Maintenance)

 

ทั้งนี้ ทางบริษัท แมกซ์ แวลู เทคโนโลยี จำกัด มีบริการทั้งสอบเทียบ (Calibration) และ ปรับตั้ง (Adjustment) ให้กับเครื่องมือต่างๆมากมาย เช่น Lab concept, Height gauge, Hardness Tester และอื่นๆ อีกมากมาย...

ขอขอบคุณ บทความ ความรู้ดีๆ จาก คุณพิสูจน์ พิมพ์โคตร

 

ติดต่อสอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่...

   คุณพิสูจน์ พิมพ์โคตร
  Service Manager
  Max Value Technology Co., Ltd.

    Mobile : 086-007-8531
   E-mail ; phisut@maxalue.co.th
   Line ID : P4303

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy